อริยสัจ 4 

หลักอริยสัจ 4 เป็นหนึ่งในบทพระธรรม ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธรรมเทศนาที่มีคำสอนของทางเดินสายกลาง หรือ “มัชฌิมาปฏิปทา” หมายถึง หนทางดับทุกข์  หรือ มรรคมีองค์ 8  และ อริยสัจ4 ประกอบด้วย ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรคแม้ว่าหลักธรรมอริยสัจ 4 จะมีเพียงองค์ประกอบหลัก 4 ประการเท่านั้น แต่สาระสำคัญของอริยสัจ 4 คือเป็นหลักธรรมที่ควรละ และหลักธรรมที่ควรรู้สามารถนำมาศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามในแนวทางของมรรคธรรมที่ควรเจริญ

ทั้งนี้ยังเป็นเส้นทางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และนำมาสั่งสอน เทศนา เผยแพร่ให้แก่พระสาวกและพุทธบริษัททั้ง 4 (ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา) เป็นหลักธรรมของความจริงอันประเสริฐ “อริยะสัจ 4”  คือแนวทางของการดับทุกข์ การปฏิบัติตามหลักธรรมอริยสัจ4 อยู่เป็นประจำเสมอๆนั้น จะช่วยทำให้ รู้เข้าใจ เกิดสภาวะของการไตร่ตรองตามสถานการณ์จริงของหนทางดับทุกข์ได้

อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา มีดังนี้


ทุกข์ คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

ทุกข์ คือ ” ความไม่สบายกาย, ความไม่สบายใจ, การประสบกับสิ่งที่ไม่ได้เป็นดั่งใจหวัง ” จากสิ่งที่มากระทบต่ออายตนะทั้ง 6 ประการ หรืออินทรีย์ของร่างกายทั้ง 6 อย่าง คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย,ใจ และความทุกข์เป็นผลของสมุทัย เป็น ธรรมที่ควรรู้อริยสัจสี่ ทุกข์ คือ ” ความไม่สบายกาย, ความไม่สบายใจ, การประสบกับสิ่งที่ไม่ได้เป็นดั่งใจหวัง “


สมุทัย คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

สมุทัย คือ ” สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์  ” เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกิเลสขึ้น ทำให้จิตใจและร่างกายเกิดความทุกข์ จากสภาวะของตัวตัณหา ดังนั้นตัวสมุทัยธรรมที่ควรละ จะทำให้สู่หนทางแห่งการดับทุกข์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็น การแก้ปัญหาแบบอริยสัจ-4 เป็นแนวทางเบื้องต้นของวิธีดับทุกข์ คือจะต้องประพฤติปฏิบัติตั้งใจทำปหานะ  นั่นคือ การละ การขจัดตัวกิเลส การกำจัดตัณหา จากความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง สมุทัยเป็นเหตุของทุกข์ ต้องละปิดกั้นทางอบายและความอยาก จาก 3 ประการนี้คือ


นิโรธ คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

นิโรธ คือ  ” การพ้นจากความทุกข์ การดับจากความทุกข์ ” การขจัดซึ่งตัวกิเลส หรือการละจากตัวตัณหาทั้ง 3 ประการที่มีอยู่ในสมุทัยออกไปได้สำเร็จ ซึ่งนิโรธคือผลของมรรค และเป็นหลักธรรมสำหรับการบรรลุนั้นเอง


มรรค คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

มรรค คือ ” วิธีพ้นทุกข์ วิธีการดับทุกข์ หนทางของการดับทุกข์ ” มรรคในอริยสัจ4 คือเป็นสาเหตุของนิโรธ เป็นหลักธรรมที่ควรเจริญตามหลักอริยสัจ 4 สำหรับมรรค มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อริยมรรคมีองค์แปด เนื่องจากมรรคมีองค์ประกอบด้วยของ มรรค ๘ ประการ ด้วยกัน ที่เป็นเส้นทางแห่งการพ้นทุกข์ มีศีล มีสมาธิ และมีปัญญา ได้ดังนี้

มรรค 8 คือ 

มรรคมีองค์8 อยู่ในหลักธรรม “ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ” คือ ทางสายกลาง บนเส้นทางของมนุษย์ทุกชีวิต การเกิดความเสียใจ การสูญเสีย การจากลา การไม่เป็นไปตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ สิ่งเหล่านี้คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาด้วยกันทั้งสิ้นการเข้าใจมรรคมีองค์แปด คือ การเข้าใจหนทางสู่การพ้นทุกข์ หรือวิธีดับทุกข์ นั้นเอง

ทางสายกลางที่ปรากฏในข้อคำสอนของพระพุทธศาสนาทางสายกลางที่ปรากฏในข้อคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นคือ “มรรคมีองค์ 8” หรือ “อัฏฐังคิกมรรค” อันประกอบด้วย

อริยสัจ คือ หลักธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังคงเป็นอมตะ ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์นั้น การที่คนเรามีความทุกข์เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำแบบสม่ำเสมอ ๆ ต้องหาต้นเหตุแห่งความทุกข์ หรือที่มาของความทุกข์นั้นๆที่ได้เข้ามากระทบจิตใจ เพื่อนำไปสู่หนทางหรือแนวทางของการดับทุกข์ ที่เรียกกันว่า มรรคมีองค์ 8



ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ

มีปัญญา หลักธรรมที่สามารถช่วยยุติถอนจากกิเลสและตัณหาได้ คือ

มีศีล หลักธรรมที่สามารถช่วยข่มจิตใจจากสภาวะของกิเลสได้ คือ

อริยสัจ4

มีสมาธิ หลักธรรมช่วยละกิเลสขจัดตัณหาได้ คือ

สมาธิ หลักธรรมช่วยละกิเลสขจัดตัณหาได้

อริยสัจ-4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หลักธรรม ที่ว่าด้วยความจริงมีเหตุและผลเป็นเครื่องรองรับ เป็นธรรมะที่ ช่วยข่มจิตใจ ละกิเลสกำจัดตัณหา และสามารถยุติถอนกิเลสตัณหาได้อย่างแยบคาย หลักธรรมนี้เป็นสัจธรรมที่อยู่คู่กับพระพุทธศาสนามาตลอด สามารถนำมาใช้ประยุกต์ได้กับทุกๆเหตุการณ์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนหนึ่งเป็นการช่วยทำให้ปุถุชนได้มีความเข้าใจถึงความทุกข์ที่เข้ามากระทบและความสุขที่เดินทางเข้ามาทักทายในชีวิตได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น

ในหลักธรรมอริยสัจ 4 คือ ธรรมะที่ล้วนเป็นความจริงทั้ง 4 ประการ

การปฏิบัติตามไตรสิกขา 3 ของธรรมะหลักธรรมแห่งการพ้นจากความทุกข์ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ที่จัดประเภทและสรุปจากที่มาตามแนวทางขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้นคือ อริยมรรค 8 ประการ สามารถนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง  ๆได้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ไม่กระทำผิดพลาด และเป็นเครื่องคอยเตือนสติ ปรับแต่งจิตใจไม่ให้ตกล่วงไปในทางที่ไม่ดี

เพราะตามธรรมดาของสรรพสิ่ง ย่อมถูกชักจูงให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ง่ายดายกว่า เนื่องจากไม่ต้องอาศัยความพยายามหรือความมุ่งมั่นในการทำ  แต่การทำความดีเป็นเสมือนสิ่งที่ต้องใช้เวลา ใช้ความตั้งใจ ในบ้างครั้งต้องรู้สึกถึงการฝืนในตัวเอง ฝืนความรู้สึก หรือเป็นสิ่งที่ไม่อยากทำ เพราะทำไปแล้วอาจจะรู้สึกว่าไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์หรือยังไม่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ๆ แต่สำหรับคำสั่งสอนของอริยสัจ-4 คือหลักจริงแท้แน่นอน ไม่มีเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคหรือกี่สมัยแล้วก็ตาม หลักธรรมที่เป็นดุจดั่งเพชรแท้ก็ยังคงทนถาวรในความเป็นเพชรแท้ตลอดไป

ข้อสรุปอริยสัจ 4 ข้อควร ปฏิบัติ ที่พอดีของทางสายกลาง

คือเป็นข้อควรประพฤติและปฏิบัติที่พอดีของทางสายกลางไม่หย่อนหรือหนักมากจนเกินไป ซึ่งสามารถที่จะเป็นวิธีการนำไปสู่เส้นทางของความหลุดพ้นได้ เป็นการตัดพบตัดชาติของการเกิดในวงจรเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร นั่นคือการที่ไม่มีทางกลับชาติมาเกิดใหม่ได้ในที่สุด แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชนที่นับถือศาสนาพุทธแล้ว เพียงการนำหลักธรรมในกรอบอริยสัจ-4 มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของการทำงาน ของการใช้ชีวิตในทุกๆวันที่ยังคงมีลมหายใจอยู่ และของการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ตลอดจนการเร่งสร้างทำความเพียรในการทำความดีไม่กระทำความชั่วตามแนวทางของมรรคแปด สะสมกุศลกรรมธรรมอันดี ด้านทาน ด้านศีล และด้านการเจริญภาวนา



ขอขอบคุณผู้เขียนทุกๆ ท่าน ผมกอปปี้มาขออภัยผู้เป็นเจ้าของด้วยนะครับ เจตนาเพื่อให้เป็นทาน การให้ธรรมมะเป็นทานชนะการให้ทั้งปว