จุดเด่น ของ พระพุทธศาสนา

ฝรั่งเขียนเรื่อง ความจริง และ จุดเด่น ของ พุทธศาสนา 19 ประการที่ต่างจากศาสนาอื่นๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

๑.พระพุทธศาสนา ปฏิเสธว่า มีผู้สร้างโลก ถือว่า ความเชื่อนี้ไร้สาระ ตรงข้าม โลกนี้ประกอบขึ้นจากเหตุธาตุทั้ง4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ประกอบกันขึ้นมา

๒.พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ระบบความเชื่อที่จะใช้คำว่า Religion เพราะศัพท์นี้ หมายถึง ต้องมีความเชื่อในพระเจ้าผู้สร้างโลก

๓.จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา คือ ละกิเลสได้หมดแล้ว หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หรือวัฏฏสงสาร ไม่ใช่ไปแค่ไปเกิดบนสวรรค์เท่านั้น

๔.พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ผู้ปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้รอด สรรพสัตว์ต้องช่วยตนเอง เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสและวัฏฏสงสาร

๕.ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธเจ้า และสาวก คือ ครูผู้สอนและลูกศิษย์ ไม่ใช่ตัวแทนพระเจ้า และทาสผู้รับใช้

๖.พระพุทธเจ้า ไม่เคยให้สาวกใช้ความเชื่อโดยปราศจากปัญญามานับถือ ตรงข้าม ทรงสอนให้ใช้ปัญญา พิจารณาคำสอนก่อนจะเชื่อ และเห็นจริงด้วยตนเอง และ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ต้องนำคำสอนไปประพฤติและปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นด้วยตนเอง ไม่มีใครช่วยทำให้หลุดพ้น จากการเวียนเกิดเวียนตายได้ นอกจากให้แค่แนะนำ ชี้ทางที่ถูกต้องให้เท่านั้น

๗.คำสอนพระพุทธเจ้า เป็นสัจธรรมประจำโลก ที่เป็น และมีอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าทรงเป็นแต่เพียงผู้ค้นพบเท่านั้น พระองค์ไม่ใช่เป็นคนสร้างคำสอนขึ้นมา

๘.นรกในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่สถานที่กักขังสัตว์อย่างนิรันดร์ บุคคลทำบาปแล้ว ไปเกิดในนรก เมื่อพ้นกรรมแล้ว ก็สามารถกลับไปเกิดในภพที่ดีกว่าได้ และ สัตว์ที่ได้ไปเกิดในภพอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภพเทวดา ภพมนุษย์ ภพเปรตวิสัย ภพเดรัจฉาน ก็สามารถเวียนกลับไปเกิดในนรกอีกได้ เช่นกัน

๙.พระพุทธศาสนา ไม่ได้สอนแนวคิดเรื่องบาปติดตัว เหมือนที่ศาสนาเทวนิยมสอน แต่สอนเรื่องกฎแห่งกรรม ซึ่งมีทั้งกรรมขาว กรรมดำ และกรรมไม่ขาวไม่ดำ

๑๐.พระพุทธศาสนาสอนว่า มนุษย์และเทวดาทุกชีวิต มีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ ข้อสำคัญก็คือ ต้องใช้ความพยายามในการปฏิบัติ เพื่อชำระกิเลสให้พ้นไปจากจิตใจ พระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นมนุษย์สามัญธรรมดา ที่หลุดพ้นจากทุกข์ได้ เพราะการประพฤติปฏิบัติมาหลายภพหลายชาติ

๑๑.กฎแห่งกรรมของทุกสรรพสัตว์ เป็นตัวอธิบายว่า เหตุใดคนถึงเกิดมาแตกต่างกัน กฎแห่งกรรมเป็นตัวอธิบายถึงภพภูมิที่สัตว์พากันไปเกิด

๑๒.พระพุทธศาสนา เน้นให้แผ่เมตตากรุณาไปยังสรรพสัตว์ ทุกภพภูมิ ทรงสอนให้ละจากการประพฤติชั่วทั้งปวง คือ อกุศลกรรมบท ๑๐ และให้ประพฤติปฏิบัติแต่ กุศลกรรมบถ ๑๐

๑๓.ธรรมะของพระพุทธเจ้า เสมือนแพ หลังจากบำเพ็ญเพียรจนดับทุกข์ได้แล้ว จะอยู่เหนือบุญและบาป ธรรมะทั้งปวงจะต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น

๑๔.ไม่มีสงครามศักดิ์สิทธิ์ ในทรรศนะพระพุทธศาสนา การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การเบียดเบียนผู้อื่นด้วยเจตนา ผู้กระทำจะต้องรับกรรมทั้งสิ้น จนกว่าจะหลุดพ้นจากวัฏสงสาร การฆ่าในนามศาสนา ยิ่งกระทำมิได้ในพระพุทธศาสนา

๑๕.พระพุทธเจ้าสอนว่า กำเนิดสังสารวัฏ ไม่มีเบื้องต้นและที่สุด ถ้าหากสัตว์ยังดำเนินชีวิตไปตามอำนาจกิเลส ที่มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ย่อมต้องเวียนเกิดเวียนตายต่อไป

๑๖.พระพุทธเจ้า ทรงเป็นพระสัพพัญญู ( ผู้รู้ความจริงทุกเรื่องที่ทรงอยากรู้ ) และพระพุทธเจ้า มิใช่เทพเจ้าผู้ทรงมีอำนาจล้นฟ้า ดลบันดาลสร้างธรรมชาติต่างๆ ขึ้นมา

๑๗.การฝึกสมาธิ สำคัญมากในพระพุทธศาสนา แม้ว่าศาสนาอื่นๆ ก็มีสอนให้คนมีสมาธิ แต่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอน วิปัสสนา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้รู้แจ้งว่า ทุกสรรพสิ่ง เมื่อมีการเกิด ย่อมมีการดับ

๑๘.หลักคำสอนเรื่อง(สุญญตา) หรือ นิพพาน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในพระพุทธศาสนา ถือเป็นคำสอนระดับสูงของพระพุทธศาสนาด้วย เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วโลกธาตุ ไม่มีสิ่งใด เที่ยงแท้ถาวร มีแต่ปัจจัย ดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบกัน สรรพสิ่งในโลก จึงตกอยู่ในภาวะอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เหมือนกันหมด พระพุทธศาสนาจึงไม่สุดโต่งไปตามแนวศาสนาประเภทเทวนิยม หรือ ตามแนววัตถุนิยม ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ที่ต้องเวียนเกิดเวียนตาย จนกว่าจะบรรลุธรรม จึงจะดับเย็น เข้าสู่นิพพาน

๑๙.วัฏจักร หรือสังสารวัฏ เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา ตราบใดที่สรรพสัตว์ ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ก็จะเวียนว่ายตายเกิด ไปตามภพภูมิต่างๆ ตามแรงเหวี่ยงของกรรม ไม่สิ้นสุด จนกว่าจะบรรลุธรรม ดังนั้น ทุกสรรพสัตว์ จึงต้องช่วยตนเอง เพื่อพัฒนาไตรสิกขา ให้หลุดพ้นจากโลภะ โทสะ และโมหะ หรืออวิชชา เพื่อการหลุดพ้นจากสังสารวัฏให้ได้ ฯ เสียดายไม่ทราบชื่อฝรั่งผู้เขียน แต่ ก็แสดงว่า มีความเข้าใจในพระพุทธศาสนา มากขอกราบคารวะ และ ขอชื่นชมด้วยใจจริง

กมฺมุนา วตฺตตีโลโก (กัมมุนา วัตตติ โลโก) - สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

คำว่า “กรรม” แปลว่า การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ได้แก่

กายกรรม คือ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาทางกาย

วจีกรรม คือ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาทางวาจา

มโนกรรม คือ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาทางใจ

“กรรม” สามารถแบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ 2 ประเภท คือ

อกุศลกรรม คือ กรรมชั่ว การกระทำชั่ว การกระทำที่ไม่ดี การสร้างความเสียหาย หรือ การกระทำบาป ที่เกิดจากมูลเหตุของ โลภะ โทสะ และ โมหะ

กุศลกรรม คือ กรรมดี การกระทำความดี ละเว้นความชั่ว การสร้างบุญกุศล การให้ทาน หรือ การบำเพ็ญสมาธิ ศีล ภาวนา ที่เกิดจากมูลเหตุของ อโลภะ อโทสะ และ อโมหะ

ทุกชีวิตในโลกล้วนเป็นไปตามอำนาจของแรง “กรรม” ที่ถูกกำหนดมาแล้วแต่ครั้งก่อนทั้งนั้น ไม่มีสัตว์โลกชนิดใดที่จะหนีพ้นอำนาจของแรง “กรรม” นั้นไม่มี

“กรรม” มีทั้ง กรรมดี และ กรรมไม่ดี มนุษย์เราทุกคน สามารถเลือกได้ว่าจะทำในสิ่งไหน หากมุ่งมั่นกระทำแต่ กรรมไม่ดี ก็จะได้รับผลของ กรรมไม่ดี ที่ทำไป แต่ถ้าหากมุ่งมั่นกระทำแต่ กรรมดี นั้น ผลของ กรรมดี ก็จะตอบแทนในสิ่งที่ดีๆ เช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น

หากเพื่อนๆ ไปกระทำสิ่งที่ไม่ดีไว้ เช่น ไปทำร้ายคนอื่น, ไปขโมยของคนอื่น หรือ ไปทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น สิ่งที่ตามมานั้นก็คือ อาจจะโดนคนอื่นทำร้ายกลับ, โดนคนอื่นๆ ด่าว่า, ไม่มีคนยอมรับ หรือ โดนตำรวจจับ ลงโทษตามกฏหมายบ้านเมือง

แต่ถ้าหากเพื่อนๆ กระทำแต่ความดี สร้างบุญกุศล ให้ทาน มีจิตใจ เมตตา กรุณา ต่อผู้อื่น มากๆ สิ่งที่ตามมานั้นก็คือ สังคมให้ความนับหน้าถือตา ไปไหนมาไหน ก็มีแต่คนคอยช่วยเหลือ หรือให้การยอมรับ มีแต่คนต้อนรับ มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ทำอะไรส่วนใหญ่ก็จะประสบแต่ความสำเร็จ

เพื่อนๆ เคยสังเกตกันไหมค่ะว่า ทำไม มนุษย์เราเกิดมาแล้ว ไม่เหมือนกัน บางคนสวย หล่อ ลบางคนขี้เหร่ อ้วน ดำ บางคนร่ำรวย มีชื่อเสียง แต่บางคนก็ยากจน ไม่มีคนยอมรับ หรือ หลายๆ คน ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ แต่ หลายๆ คน ก็ทำอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จเลยสักอย่างเดียว

นั้นก็เป็นเพราะ “แรงกรรม” ที่เรากระทำมาทั้งในตอนนี้ ในชาตินี้ หรือ ตั้งแต่ครั้งก่อน หรือชาติปางก่อนนั้นเอง ใครที่กระทำ “กรรมดี” มามาก ก็จะได้รับผลของ “กรรมดี” นั้นมาก ส่วนใครที่กระทำ “กรรมไม่ดี” มามาก ก็จะได้รับผลของการกระทำ “กรรมไม่ดี” มาก เช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้นแล้ว มนุษย์เราทุกๆ คน สามารถเลือกได้ว่า อยากให้ตัวเอง ได้รับ กรรมไม่ดี หรือ กรรมดี อยู่ที่การกระทำของเรา อยู่ที่เราเลือกเอง

ชีวิตของมนุษย์เราในหนึ่งภพขาตินั้นแสนสั้นมากนัก โดยทั่วไปก็ประมาณไม่เกิน 100 ปี ขอให้ทุกๆ ท่าน หันมาสร้างความดี สร้างบุญกุศล กันมากๆ ประพฤติตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ละเว้นการกระทำความมาดี สังคมของเราก็จะน่าอยู่กันมากขึ้น แล้วชีวิตของเราเองก็จะได้ประสบพบเจอแต่สิ่งที่ดีๆ ค่ะ

สุดท้ายนี้ก็ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ องค์เทพ ทั้งหลายในสากลโลก ได้โปรดบันดาลประทานพร ให้ท่านและครอบครัวจงมีสุขภาพแข็งแรง ได้ประสบพบเจอแต่ความดี ไม่มีความทุกข์ ณ บัดนี้เทอญ สาธุ สาธุ สาธุ


#ธรรมะเพื่อวิถีชาวบ้าน


#ศึกษาธรรมะเพื่อขัดเกลาจิตใจ


#ทำความดีสร้างบุญกุศลตอนนี้ก่อนจะสายเกินไป


#การแชร์เพื่อเป็นธรรมทานร่วมอนุโมทนาบุญร่วมกัน


#กราบสวัสดีกัลยาณมิตร ทุกๆ ท่านนะค่ะ


กุศลกรรมบถ 10 แบ่งออกเป็น 3 หมวด ดังนี้

1. กายกรรม 3 ประการ

1. ไม่ฆ่าหรือทำลายชีวิตผู้อื่น

2. ไม่ลักขโมย หรือยึดเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน

3. ไม่ประพฤติผิดในกาม

2. วจีกรรม 4 ประการ

4. ไม่พูดเท็จ

5. ไม่พูดส่อเสียด

6. ไม่พูดคำหยาบคาย

7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ

3. มโนกรรม 3 ประการ

8. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น

9. ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น

10. เห็นชอบตามคลองธรรม

อกุศลกรรมบถ 10 คือมูลเหตุนำไปเกิดเป็นเปรตและอบายภูมิอื่น

การที่มนุษย์ทั้งหลายจะต้องไปเกิดเป็นเปรต มีชีวิตอยู่ในอบายภูมิหลังจากละโลกไปแล้ว ก็เพราะมีเหตุมีปัจจัย หรือปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ไปถึงเปรตนั้น ได้แก่ อกุศลกรรมบถ กล่าวคือ ความชั่วที่ทำไว้ทางกาย วาจา ใจ

การที่มนุษย์ทั้งหลายจะต้องไปเกิดเป็นเปรต มีชีวิตอยู่ในอบายภูมิหลังจากละโลกไปแล้ว ก็เพราะมีเหตุมีปัจจัย หรือปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ไปถึงเปรตนั้น ได้แก่ อกุศลกรรมบถ กล่าวคือ ความชั่วที่ทำไว้ทางกาย วาจา ใจ เช่นเดียวกับเหตุปัจจัยอันเป็นปฏิปทาให้ไปสู่นรกตามที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน แต่เพื่อให้เข้าใจได้อย่างแม่นยำ จึงขอนำเอาอกุศลกรรมบถมากล่าวซ้ำไว้อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

อกุศลกรรมบถ 10 ประการ

กายกรรม หรือ การทำบาปทางกาย มี 3 คือ

1. ฆ่าสัตว์

2. ลักทรัพย์

3. ประพฤติผิดในกาม

วจีกรรม หรือ การทำบาปทางวาจา มี 4 คือ

1. พูดเท็จ

2. พูดส่อเสียด

3. พูดคำหยาบ

4. พูดเพ้อเจ้อ

มโนกรรม หรือ การทำบาปทางใจ มี 3 คือ

1. โลภอยากได้ของเขา

2. พยาบาทปองร้ายเขา

3. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม

เมื่อผู้ใดประพฤติอกุศลกรรมบถ 10 ประการนี้ ผู้นั้นชื่อว่านำตนเดินไปตามปฏิปทาทางไปสู่โลกเปรตแล้ว และเมื่อเขาขาดใจตายไปจากมนุษยโลกนี้ หากว่าอกุศลกรรมนั้น สามารถนำเขาไปสู่นิรยภูมิ คือ โลกนรกได้ เขาก็จักต้องไปเสวยทุกข์โทษอยู่ในนรกก่อน พอสิ้นกรรมพ้นจากนรกแล้ว เศษบาปยังมี จึงจะไปเกิดเป็นเปรตต่อในภายหลัง นี้จำพวกหนึ่ง ทนทรมานในภพเปรตด้วยกรรมชั่วของตน

อีกจำพวกหนึ่งนั้นมีอกุศลกรรมบางเบา ไม่ถึงขั้นที่จะต้องตกนรกก็ไม่ต้องไปผ่านแดนนรก แต่จะตรงไปเกิดในโลกเปรตเลยทันที ซึ่งในกรณีหลังนี้มีข้อที่ควรจะทราบไว้ ดังต่อไปนี้

เมื่อมนุษย์ผู้มีจิตไม่บริสุทธิ์ ประพฤติอกุศลกรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นการนำตนให้เดินไปตามปฏิปทาทางไปสู่เปตติวิสัยแล้ว ในขณะที่จะขาดใจตายจากมนุษย์ไปผุดเกิดเป็นเปรตนั้น ย่อมจะมีเหตุการณ์อันแสดงว่าตนจักได้ไปเกิดเป็นเปรตแน่ๆ คือ คตินิมิต ซึ่งบ่งบอกถึงคติแห่งโลกเปรตที่ตนจักต้องไปเกิด เช่น บางทีให้เห็นเป็นหุบเขาหรือถ้ำอันมืดมิด เป็นสถานที่เงียบวิเวกวังเวงและปลอดเปลี่ยว บางทีให้เห็นเป็นแกลบและข้าวลีบมากมาย ให้รู้สึกหิวโหยอาหารและกระหายน้ำเป็นกำลัง บางทีให้เห็นเป็นน้ำเลือดน้ำหนองน่ารังเกียจสะอิดสะเอียนเป็นยิ่งนัก และให้เห็นไปว่าตนได้ดื่มกินน้ำเลือดน้ำหนองเหล่านั้นเป็นอาหาร