อริยสัจ 4

หลักอริยสัจ 4 เป็นหนึ่งในบทพระธรรม ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธรรมเทศนาที่มีคำสอนของทางเดินสายกลาง หรือ “มัชฌิมาปฏิปทา” หมายถึง หนทางดับทุกข์ หรือ มรรคมีองค์ 8 และ อริยสัจ4 ประกอบด้วย ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรคแม้ว่าหลักธรรมอริยสัจ 4 จะมีเพียงองค์ประกอบหลัก 4 ประการเท่านั้น แต่สาระสำคัญของอริยสัจ 4 คือเป็นหลักธรรมที่ควรละ และหลักธรรมที่ควรรู้สามารถนำมาศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามในแนวทางของมรรคธรรมที่ควรเจริญ

ทั้งนี้ยังเป็นเส้นทางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และนำมาสั่งสอน เทศนา เผยแพร่ให้แก่พระสาวกและพุทธบริษัททั้ง 4 (ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา) เป็นหลักธรรมของความจริงอันประเสริฐ “อริยะสัจ 4” คือแนวทางของการดับทุกข์ การปฏิบัติตามหลักธรรมอริยสัจ4 อยู่เป็นประจำเสมอๆนั้น จะช่วยทำให้ รู้เข้าใจ เกิดสภาวะของการไตร่ตรองตามสถานการณ์จริงของหนทางดับทุกข์ได้

อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา มีดังนี้

  • 1. ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) ...

  • 2. สมุทัย (หลักธรรมที่ควรละ) ...

  • 3. นิโรธ (หลักธรรมที่ทำให้บรรลุ) ...

  • 4. มรรค (หลักธรรมที่ควรเจริญ หรือทำให้เกิดขึ้น)


ทุกข์ คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

ทุกข์ คือ ” ความไม่สบายกาย, ความไม่สบายใจ, การประสบกับสิ่งที่ไม่ได้เป็นดั่งใจหวัง ” จากสิ่งที่มากระทบต่ออายตนะทั้ง 6 ประการ หรืออินทรีย์ของร่างกายทั้ง 6 อย่าง คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย,ใจ และความทุกข์เป็นผลของสมุทัย เป็น ธรรมที่ควรรู้อริยสัจสี่ ทุกข์ คือ ” ความไม่สบายกาย, ความไม่สบายใจ, การประสบกับสิ่งที่ไม่ได้เป็นดั่งใจหวัง “


สมุทัย คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

สมุทัย คือ ” สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ” เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกิเลสขึ้น ทำให้จิตใจและร่างกายเกิดความทุกข์ จากสภาวะของตัวตัณหา ดังนั้นตัวสมุทัยธรรมที่ควรละ จะทำให้สู่หนทางแห่งการดับทุกข์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็น การแก้ปัญหาแบบอริยสัจ-4 เป็นแนวทางเบื้องต้นของวิธีดับทุกข์ คือจะต้องประพฤติปฏิบัติตั้งใจทำปหานะ นั่นคือ การละ การขจัดตัวกิเลส การกำจัดตัณหา จากความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง สมุทัยเป็นเหตุของทุกข์ ต้องละปิดกั้นทางอบายและความอยาก จาก 3 ประการนี้คือ

  • มีรสอร่อยๆต่อลิ้น, อยากได้กลิ่นในสิ่งที่มีความหอมละมุนต่อจมูก, อยากได้ฟังเสียงที่มีความไพเราะมากระทบต่อหู เป็นต้น

  • ภวตัณหา คือ ความอยากได้ ความอยากมี ความอยากเป็น เช่น การอยากได้ยศได้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงๆขึ้น, การอยากมีคู่ชีวิตที่ดีๆไม่เจ้าชู้นอกใจและรักเดียวใจเดียว, การอยากเป็นมหาเศรษฐีที่ได้รับเงินรางวัลพิเศษ เป็นต้น

  • วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากได้ ความไม่อยากมี ความไม่อยากเป็น เช่น การไม่อยากได้ทำงานวันหยุดเนื่องจากไม่ได้รับค่าตอบแทน, การไม่อยากมีคู่ชีวิตที่เกียจคร้านในหน้าที่การทำงาน, การไม่อยากเป็นผู้ที่ถูกนายจ้างเลิกสัญญาจ้างออกจากการทำงาน เป็นต้น


นิโรธ คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

นิโรธ คือ ” การพ้นจากความทุกข์ การดับจากความทุกข์ ” การขจัดซึ่งตัวกิเลส หรือการละจากตัวตัณหาทั้ง 3 ประการที่มีอยู่ในสมุทัยออกไปได้สำเร็จ ซึ่งนิโรธคือผลของมรรค และเป็นหลักธรรมสำหรับการบรรลุนั้นเอง


มรรค คืออะไร ยกตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

มรรค คือ ” วิธีพ้นทุกข์ วิธีการดับทุกข์ หนทางของการดับทุกข์ ” มรรคในอริยสัจ4 คือเป็นสาเหตุของนิโรธ เป็นหลักธรรมที่ควรเจริญตามหลักอริยสัจ 4 สำหรับมรรค มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อริยมรรคมีองค์แปด เนื่องจากมรรคมีองค์ประกอบด้วยของ มรรค ๘ ประการ ด้วยกัน ที่เป็นเส้นทางแห่งการพ้นทุกข์ มีศีล มีสมาธิ และมีปัญญา ได้ดังนี้

มรรค 8 คือ

มรรคมีองค์8 อยู่ในหลักธรรม “ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ” คือ ทางสายกลาง บนเส้นทางของมนุษย์ทุกชีวิต การเกิดความเสียใจ การสูญเสีย การจากลา การไม่เป็นไปตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ สิ่งเหล่านี้คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาด้วยกันทั้งสิ้นการเข้าใจมรรคมีองค์แปด คือ การเข้าใจหนทางสู่การพ้นทุกข์ หรือวิธีดับทุกข์ นั้นเอง

ทางสายกลางที่ปรากฏในข้อคำสอนของพระพุทธศาสนาทางสายกลางที่ปรากฏในข้อคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นคือ “มรรคมีองค์ 8” หรือ “อัฏฐังคิกมรรค” อันประกอบด้วย

  1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูกต้อง

  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดถูกต้อง

  3. สัมมาวาจา คือ มีการใช้วาจา คำพูดอย่างถูกต้อง

  4. สัมมากัมมันตะ คือ มีการแสดงออกทางกายอย่างถูกต้อง

  5. สัมมาอาชีวะ คือ มีการเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง

  6. สัมมาวายามะ คือ มีความเพียรพยายามที่ถูกต้อง

  7. สัมมาสติ คือ มีสติรอบคอบ มีสติที่ถูกต้อง

  8. สัมมาสมาธิ คือ มีสมาธิ จิตตั้งมั่นอย่างถูกต้อง

อริยสัจ คือ หลักธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังคงเป็นอมตะ ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์นั้น การที่คนเรามีความทุกข์เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำแบบสม่ำเสมอ ๆ ต้องหาต้นเหตุแห่งความทุกข์ หรือที่มาของความทุกข์นั้นๆที่ได้เข้ามากระทบจิตใจ เพื่อนำไปสู่หนทางหรือแนวทางของการดับทุกข์ ที่เรียกกันว่า มรรคมีองค์ 8



ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ

มีปัญญา หลักธรรมที่สามารถช่วยยุติถอนจากกิเลสและตัณหาได้ คือ

  • มิจฉาทิฏฐิ เช่น มีความเชื่อในคติธรรมที่ว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี และผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว”

  • สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ” การดำริชอบ การมีความตั้งใจทำในสิ่งที่ดีงาม ” การทำในสิ่งที่ชอบธรรม การคิดไปในทางสุจริต เช่น การตั้งใจทำงาน ทำในสิ่งที่ชอบคือการไม่ไปทำงานสายและไม่เลิกทำงานก่อนเวลา และมีความเลื่อมใสศรัทธาในการทำความดีอยู่เสมอ

มีศีล หลักธรรมที่สามารถช่วยข่มจิตใจจากสภาวะของกิเลสได้ คือ

  • สัมมาวาจา หมายถึง ” การเจรจาในการชอบ การกล่าวคำจริงในทางสุจริต ” หลีกเลี่ยงหรือละเว้นต่อถ้อยคำอันเป็นอกุศลทางวจีทุจริต เช่น คำหยาบคาย, คำส่อเสียด, คำเพ้อเจ้อ, คำโกหก เปลี่ยนเป็นการเลือกใช้วาจาถ้อยคำที่ไม่มีโทษทั้งต่อตัวของผู้พูดและต่อตัวของผู้รับฟัง ควรเป็นวาจาที่อ่อนหวาน, เป็นวาจาที่มีจิตเมตตาเมื่อได้กล่าววาจาถ้อยคำนั้นออกไปแล้ว จะต้องทำให้เกิดเป็นประโยชน์, เป็นวาจาที่กล่าวแล้วถูกกาลเทศะ, และเป็นวาจาที่เป็นความจริงไม่เสริมหรือปรุงแต่งถ้อยคำเรื่องราว จนทำให้ผู้รับฟังเกิดการตีความที่มีในลักษณะเป็นไปในทิศทางที่ผิดเพี้ยนได้

  • สัมมากัมมันตะ หมายถึง ” การละเว้นจาก กายกรรมทางกาย 3 ประการ ” คือการไม่ฆ่าสัตว์, การไม่ลักทรัพย์, และการไม่ประพฤติผิดในกาม ซึ่งอยู่ในศีลข้อที่ 1 – ศีลข้อที่ 3

  • สัมมาอาชีวะ หมายถึง ” การประกอบสัมมาอาชีพในทางที่ชอบ อาชีพที่เป็นไปในทางสุจริต “และการทำมาหากินเลี้ยงอาชีพในทางที่ชอบธรรม ไม่ประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมายของบ้านเมือง ไม่ประกอบสัมมาอาชีพที่ผิดต่อศีลธรรม แม้ว่าจะเป็นอาชีพที่มีรายได้ดีก็ตามและการทำงานไม่เหน็ดเหนื่อย เช่น การค้าขายยาเสพติด เป็นต้น

  • สัมมาวายามะ หมายถึง ” ความเพียรความพยายามชอบ การตั้งใจในการบำเพ็ญเพียรต่อการสร้างความดี ” การทำจิตใจให้มั่นคง ไม่พยายามมัวเมาลุ่มหลงไปในสิ่งที่ชั่วหรือสิ่งที่ไม่ดี เช่น การคบเพื่อนพากันไปทางผิด, การยกพวกต่างสถาบันตีกัน เป็นต้น

อริยสัจ4

มีสมาธิ หลักธรรมช่วยละกิเลสขจัดตัณหาได้ คือ

  • สัมมาสติ หมายถึง ” การมีสติในการระลึกชอบ การกระทำทุกสิ่งด้วยจิตสำนึกเสมอ ” ไม่เผลอพลาดทำ คิดและไตร่ตรองให้รอบครอบก่อนลงมือปฏิบัติ หรือการกระทำตามอารมณ์ด้วยความพึงพอใจของตนเอง เมื่อได้ทำแล้วเกิดความสะใจที่ได้ทำลงไป เป็นสิ่งที่สามารถเกิดความผิดพลาดได้อย่างง่ายๆ เพราะเกิดจากการทำอะไรด้วยอาการขาดสติยับยั้งชั่งใจ ทำตามใจตนเองเพียงแค่อารมณ์เพียงชั่ววูบ สามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อครอบครัวและต่อสังคมได้อย่างมากมาย เพราะทุกคนที่ทำทุกอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยสติแล้ว จะทำให้ “สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดเกิดปัญหา”

  • สัมมาสมาธิ หมายถึง ” การควบคุมจิตให้มีความแน่วแน่ มีจิตที่มั่นคง การมีจิตที่ตั้งมั่นชอบ ” ไม่เกิดความฟุ้งซ่านต่อสิ่งต่างๆที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้อย่างง่ายๆ จนทำให้แสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจที่ไม่เหมาะสมออกไปได้อย่างง่ายได้ ต้องใช้สมาธิเป็นตัวช่วยในการป้องกัน ต้านทานต่อสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์เพ้อเจ้อ ความมัวเมา และความเผลอฝันในเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือเหตุการณ์ที่ยังคงมาไม่ถึง

  • มั่นทำทานก่อนรับประทานอาหาร คือการใส่บาตรหรือการบริจาคในทุกๆวัน สละทรัพย์หรือสิ่งของเพียงเล็กๆน้อยเพื่อการละความตระหนี่ที่มีอยู่ในจิตใจ หรือการให้ความรู้เป็นทาน ด้วยการอธิบาย การบรรยาย ตลอดจนการช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่ความสามารถที่จะทำได้และต้องไม่ทำให้ตนเองเป็นผู้ที่มีความเดือนร้อน

  • รักษาศีล หลีกเลี่ยงการทำบาปหรือสิ่งที่เป็นอกุศลกรรมทางด้านกายกรรม ทางด้านวจีกรรม และทางด้านมโนกรรม การตั้งใจมั่นในการถือศีลให้ครบทั้ง 5 ข้อ ไม่กระทำความชั่วทั้งเจตนาและไม่เจตนา มีความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นทางแห่งความเสื่อม ที่จะเข้ามามีผลและมีอิทธิพลต่อการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ

  • การฝึกสติและการก่อให้เกิดปัญญา จากการเจริญภาวนา เป็นการสร้างความดี มีจิตใจที่แน่วแน่ในการดำเนินชีวิต และทำให้สามารถเกิดปัญญาในการหาทางออกของปัญหาตามแนวทางอริยสัจ-4 เมื่อพบกับสถานการณ์ที่วิกฤตหรือเลวร้าย เข้าใจในหลักของเหตุและหลักของผลมากยิ่งขึ้น เป็นการป้องการและปิดกันทางอบายมุข อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมของชีวิตได้

สมาธิ หลักธรรมช่วยละกิเลสขจัดตัณหาได้

อริยสัจ-4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หลักธรรม ที่ว่าด้วยความจริงมีเหตุและผลเป็นเครื่องรองรับ เป็นธรรมะที่ ช่วยข่มจิตใจ ละกิเลสกำจัดตัณหา และสามารถยุติถอนกิเลสตัณหาได้อย่างแยบคาย หลักธรรมนี้เป็นสัจธรรมที่อยู่คู่กับพระพุทธศาสนามาตลอด สามารถนำมาใช้ประยุกต์ได้กับทุกๆเหตุการณ์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนหนึ่งเป็นการช่วยทำให้ปุถุชนได้มีความเข้าใจถึงความทุกข์ที่เข้ามากระทบและความสุขที่เดินทางเข้ามาทักทายในชีวิตได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น

ในหลักธรรมอริยสัจ 4 คือ ธรรมะที่ล้วนเป็นความจริงทั้ง 4 ประการ

การปฏิบัติตามไตรสิกขา 3 ของธรรมะหลักธรรมแห่งการพ้นจากความทุกข์ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ที่จัดประเภทและสรุปจากที่มาตามแนวทางขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้นคือ อริยมรรค 8 ประการ สามารถนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆได้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ไม่กระทำผิดพลาด และเป็นเครื่องคอยเตือนสติ ปรับแต่งจิตใจไม่ให้ตกล่วงไปในทางที่ไม่ดี

เพราะตามธรรมดาของสรรพสิ่ง ย่อมถูกชักจูงให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ง่ายดายกว่า เนื่องจากไม่ต้องอาศัยความพยายามหรือความมุ่งมั่นในการทำ แต่การทำความดีเป็นเสมือนสิ่งที่ต้องใช้เวลา ใช้ความตั้งใจ ในบ้างครั้งต้องรู้สึกถึงการฝืนในตัวเอง ฝืนความรู้สึก หรือเป็นสิ่งที่ไม่อยากทำ เพราะทำไปแล้วอาจจะรู้สึกว่าไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์หรือยังไม่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ๆ แต่สำหรับคำสั่งสอนของอริยสัจ-4 คือหลักจริงแท้แน่นอน ไม่มีเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคหรือกี่สมัยแล้วก็ตาม หลักธรรมที่เป็นดุจดั่งเพชรแท้ก็ยังคงทนถาวรในความเป็นเพชรแท้ตลอดไป

ข้อสรุปอริยสัจ 4 ข้อควร ปฏิบัติ ที่พอดีของทางสายกลาง

คือเป็นข้อควรประพฤติและปฏิบัติที่พอดีของทางสายกลางไม่หย่อนหรือหนักมากจนเกินไป ซึ่งสามารถที่จะเป็นวิธีการนำไปสู่เส้นทางของความหลุดพ้นได้ เป็นการตัดพบตัดชาติของการเกิดในวงจรเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร นั่นคือการที่ไม่มีทางกลับชาติมาเกิดใหม่ได้ในที่สุด แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชนที่นับถือศาสนาพุทธแล้ว เพียงการนำหลักธรรมในกรอบอริยสัจ-4 มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของการทำงาน ของการใช้ชีวิตในทุกๆวันที่ยังคงมีลมหายใจอยู่ และของการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ตลอดจนการเร่งสร้างทำความเพียรในการทำความดีไม่กระทำความชั่วตามแนวทางของมรรคแปด สะสมกุศลกรรมธรรมอันดี ด้านทาน ด้านศีล และด้านการเจริญภาวนา



ขอขอบคุณผู้เขียนทุกๆ ท่าน ผมกอปปี้มาขออภัยผู้เป็นเจ้าของด้วยนะครับ